ประวัติตระกร้อไทย
ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย ประวัติเซปักตะกร้อ ความเป็นมา
ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย ประวัติเซปักตะกร้อ ความเป็นมา ประวัติความเป็นมากีฬาตะกร้อ ประโยชน์ของตะกร้อ และ มารยาทที่ดีในการเล่นและชมตะกร้อ

ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติกีฬาตะกร้อไทย | ประวัติตะกร้อไทย สามารถอ้างอิงกีฬาชนิดนี้ได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้ว กรุงเทพฯ ซึ่งสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1785 ซึ่งภาพศิลปะเรื่องรามเกียรติ์ มีภาพการเล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ เป็นภาพ หนุมานกำลังเล่นเซปัก ตะกร้อ อยู่ท่ามกลางกองทัพลิง นอกเหนือจากหลักฐานภาพจิตรกรรมดังกล่าว ยังมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงกีฬาชนิดนี้ คือ
- พ.ศ. 2133-2149 | ค.ศ. 1590-1606 ในยุคของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ประเทศไทย เดิมชื่อ ประเทศสยาม มี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ และมีกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง คนไทยหรือคนสยาม มีการเริ่มเล่นตะกร้อที่ทำด้วย หวาย ซึ่งเป็นการเล่น ตะกร้อวง
- พ.ศ. 2199-2231 | ค.ศ. 1656-1688 มีหลักฐานพอจะอ้างอิงได้ว่า ในสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในยุคสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวง มีคณะสอนศาสนาชาว ฝรั่งเศส มาพำนักในกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2205 มีการสร้างวัดนักบุญยอเซฟ นิกายโรมันคาทอริก ซึ่งมีบันทึกของ บาทหลวง เดรียง โลเนย์ ว่าชาวสยามชอบเล่นตะกร้อกันมาก
- พ.ศ. 2315 | ค.ศ. 1771 เป็นช่วงหมดยุค กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นตอนต้นแห่งยุคสมัย กรุงธนบุรี เป็นเมืองหลวง ได้มีชาวฝรั่งเศสชื่อ นายฟรังซัว อังรี ตุระแปง ได้บันทึกในหนังสือชื่อ HISTOIRE DU ROYAUME DE SIAM พิมพ์ที่ กรุงปารีส ระบุว่า ชาวสยามชอบเล่นตะกร้อในยามว่างเพื่อออกกำลังกาย
- พ.ศ. 2395 | ค.ศ. 1850 ในยุค กรุงรัตนโกสินทร์ หรือ กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ยังมีข้ออ้างอิงในหนังสือ ชื่อ NARATIVE OF A FESIDENCE IN SIAM ของชาวอังกฤษชื่อ นายเฟรเดอริค อาร์ เซอร์นีล ระบุว่ามีการเล่นตะกร้อในประเทศสยาม
การเล่นตะกร้อ ของคนไทยหรือคนสยาม มีหลักฐานอ้างอิงค่อนข้างจะชัดเจนว่ามีการเล่นกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัย กรุงศรีอยุธยา เป็น เมืองหลวง พยานหลักฐานสำคัญที่จะยืนยันหรืออ้างอิงได้ดีที่สุด น่าจะเป็นบทกวีในวรรณคดีต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยที่ร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึงตะกร้อ ไว้ เช่น
– พ.ศ. 2276-2301 | ค.ศ. 1733-1758 ในยุคสมัย พระเจ้าบรมโกศ ครองกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นยุคที่วรรณคดีหรือวัฒนธรรมด้านอักษรศาสตร์เฟื่องฟู ก็มีกวีหลายบทเกี่ยวพันถึงตะกร้อ
– พ.ศ. 2352-2366 | ค.ศ. 1809-1823 เป็นยุคตอนต้นของ กรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหลวง สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา และเรื่องสังข์ทอง มีบทความร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ด้วย
– พ.ศ. 2366-2394 | ค.ศ. 1823-1851 ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวง สมัย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ในบทกวีของ สุทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทกวี นิราศเมืองสุพรรณ ในปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) มีร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ไว้เช่นกัน
– พ.ศ. 2352-2366 | ค.ศ. 1809-1823 เป็นยุคตอนต้นของ กรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพมหานคร) เป็นเมืองหลวง สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชนิพนธ์ร้อยกรองของวรรณคดีเรื่อง อิเหนา และเรื่องสังข์ทอง มีบทความร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ด้วย
– พ.ศ. 2366-2394 | ค.ศ. 1823-1851 ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวง สมัย สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ในบทกวีของ สุทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เขียนบทกวี นิราศเมืองสุพรรณ ในปี พ.ศ. 2384 (ค.ศ. 1841) มีร้อยถ้อยความเกี่ยวพันถึง ตะกร้อ ไว้เช่นกัน

เหตุผลหรือข้ออ้างที่กล่าวมาทั้งหลายทั้งปวง ย่อมถือเป็นพยานหลักฐานไว้ว่า คนสยามหรือคนไทย ได้เล่น ตะกร้อ มาเป็นเวลาช้านานแล้ว
- พ.ศ. 2468-2477 | ค.ศ. 1925-1934 ในยุคสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเมืองหลวง สมัย สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ (รัชกาลที่ 7) ได้มีการปรับปรุงหรือดัดแปลงการเล่นตะกร้อขึ้นหลายรูปแบบ ซึ่งมี ตะกร้อลอดห่วง, ตะกร้อข้ามตาข่าย, ตะกร้อชิงธง, ตะกร้อพลิกแพลง และ การติดตะกร้อตามร่างกาย
- พ.ศ. 2470 | ค.ศ. 1927 โดย หลวงมงคลแมน ชื่อเดิม นายสังข์ บูรณะศิริ เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเล่น ตะกร้อลอดห่วง และเป็นผู้คิดประดิษฐ์ ห่วงชัยตะกร้อ ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเดิมห่วงชัยตะกร้อ เรียงติดกันลงมา มี 3 ห่วง แต่ละห่วงมีความกว้างไม่เท่ากัน กล่าวคือ ห่วงบนเป็นห่วงเล็ก, ห่วงกลางจะกว้างกว่าห่วงบน และห่วงล่างสุดมีความกว้างกว่าทุกห่วง เรียกว่า “ห่วงใหญ่” ต่อมาได้มีการปรับปรุง-เปลี่ยนแปลง รูปทรงของห่วงชัยเป็น “สามเส้าติดกัน” โดยทั้ง 3 ห่วง (สามด้าน) มีความกว้างเท่ากัน ดังที่ใช้ทำการแข่งขันในปัจจุบัน
การติดตะกร้อตามร่างกาย สมควรต้องบันทึกหรือเขียนไว้เป็นหลักฐานด้วย เพราะถือว่าเป็นความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งการติดลูกตะกร้อไว้ตามร่างกายเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย ต้องได้รับการฝึกอย่างมากประกอบกับพรสวรรค์ เพราะการติดลูกตะกร้อ ต้องกระทำกันโดยลูกตะกร้อลอยมาในอากาศ และผู้เล่นต้องใช้อวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าผาก, ไหล่, คอ, คาง, ข้อพับแขน, ข้อพับขาด้านหลังหรือขาหนีบ เป็นต้น โดยไม่ให้ลูกตะกร้อตกพื้น ผู้ที่สมควรบันทึกไว้เป็นหลักฐานหรือเกียรติประวัติ มีจำนวน 5 คนได้แก่
1. พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) หม่องปาหยิน (คนพม่า) สามารถติดตะกร้อได้จำนวน 5 ลูก การที่นำเอาชื่อ หม่องปาหยิน บันทึกไว้เป็นประวัติการติดลูกตะกร้อของไทย ก็เพราะว่า หม่องปาหยิน อาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยยังหนุ่ม มีภรรยาเป็นคนไทย, ประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทย จนเสียชีวิต
2. นางชลอศรี ชมเฉวก เป็นชาว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถติดลูกตะกร้อได้ จำนวน 9 ลูก
3. นายแปลง สังขวัลย์ เป็นชาว กรุงเทพมหานคร สามารถติดลูกตะกร้อได้ จำนวน 9 ลูก
4. นายคล่อง ไตรสุวรรณ เป็นชาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถติดลูกตะกร้อได้ 11 ลูก
5. นายประสงค์ แสงจันทร์ เป็นชาว จังหวัดสิงห์บุรี สามารถติดลูกตะกร้อได้จำนวน 24 ลูก ซึ่งมีการดัดแปลงลูกตะกร้อบางลูกให้เล็กลง
2. นางชลอศรี ชมเฉวก เป็นชาว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ สามารถติดลูกตะกร้อได้ จำนวน 9 ลูก
3. นายแปลง สังขวัลย์ เป็นชาว กรุงเทพมหานคร สามารถติดลูกตะกร้อได้ จำนวน 9 ลูก
4. นายคล่อง ไตรสุวรรณ เป็นชาว อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถติดลูกตะกร้อได้ 11 ลูก
5. นายประสงค์ แสงจันทร์ เป็นชาว จังหวัดสิงห์บุรี สามารถติดลูกตะกร้อได้จำนวน 24 ลูก ซึ่งมีการดัดแปลงลูกตะกร้อบางลูกให้เล็กลง
ในช่วงปี พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) คนสยามหรือคนไทย มีความชื่นชอบกีฬาตะกร้อกันอย่างแพร่หลายขึ้น เพราะตามเทศกาลงานวัดต่าง ๆ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัดสระเกศ (ภูเขาทอง), วัดโพธิ์ท่าเตียน, วัดอินทรวิหาร (บางขุนพรหม) ได้เชิญ หม่องปาหยิน ไปแสดงโชว์การติดลูกตะกร้อตามร่างกาย ซึ่งมีการเก็บเงินค่าชมด้วย หลังยุค หม่องปาหยิน ยังมี หม่อมราชวงศ์อภินพ นวรัตน์ (หม่อมป๋อง) เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีความสามารถเล่นตะกร้อพลิกแพลง ซึ่งก็ได้รับเชิญไปเดาะตะกร้อโชว์ตามเทศกาลงานวัด, โรงเรียน และมหาวิทยาลัยด้วย
- พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) ได้มีการจดทะเบียนก่อตั้ง สมาคมกีฬาสยาม อย่างเป็นทางการ โดยมี พระยาภิรมย์ภักดี เป็น นายกสมาคมกีฬาสยาม คนแรก ซึ่งได้จัดให้มีการแข่งขัน ตะกร้อข้ามตาข่าย ที่ท้องสนามหลวง เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) นายผล พลาสินธุ์ ร่วมกับ นายยิ้ม ศรีหงส์, หลวงสำเร็จวรรณกิจ และ ขุนจรรยาวิทิต ได้ปรับปรุงแก้ไขวิธีการเล่น ตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งบางคนก็ได้อ้างว่า กลุ่มของ นายผล พลาสินธุ์ เป็นผู้คิดวิธีการเล่นตะกร้อ ข้ามเชือก มาก่อน โดยดัดแปลงจากกีฬาแบดมินตัน และได้มีการจัดการแข่งขันที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครั้งแรก
ข้ออ้างดังกล่าว ผู้เขียนคือ คุณปิยศักดิ์ มุทาลัย ไม่สามารถยืนยันได้ และขอยกคุณงามในคุณูปการให้แก่ทุกท่านที่กล่าวนามไว้เป็นสาระสำคัญ
- พ.ศ. 2475-2479 | ค.ศ. 1932-1936 นายยิ้ม ศรีหงส์ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ โรงพิมพ์ศรีหงส์ เป็น นายกสมาคมกีฬาสยาม คนที่ 2 ได้จัดการแข่งขันกีฬาไทยหลายอย่าง เช่น กีฬาว่าว,ตะกร้อลอดห่วง, ตะกร้อข้ามตาข่าย, ตะกร้อวงเล็ก, ตะกร้อวงใหญ่ และตะกร้อชิงธง ที่ท้องสนามหลวง เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของประเทศสยาม หรือประเทศไทย
- พ.ศ. 2476 | ค.ศ. 1933 นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้ก่อตั้ง กรมพลศึกษา และท่านก็ได้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา คนแรก จึงได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกรมพลศึกษา ซึ่งท่านเป็นผู้มีความสำคัญยิ่ง ในการปรับปรุงแก้ไข วิธีการเล่นตะกร้อ โดยมีผู้ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญ จำนวน 5 คน คือ คุณพระวิบูลย์, คุณหลวงมงคลแมน, คุณหลวงประคูณ, พระยาอุดมพงษ์เพ็ญสวัสดิ์ และ พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิด) เป็นเจ้าของกิจการรถเมล์และโรงน้ำแข็ง
- พ.ศ. 2479 | ค.ศ. 1936 พระยาจินดารักษ์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา คนที่ 2 ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไข กติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่ง กรมพลศึกษา ได้ประกาศใช้กติกากีฬาตะกร้อข้ามตาข่าย อย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) และจัดให้มีการแข่งขันระหว่างโรงเรียนมัธยมชาย ขึ้นทั่วประเทศไทยด้วย
- พ.ศ. 2480-2484 (ค.ศ. 1937-1941) นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ได้เป็น นายกสมาคมกีฬาสยาม
- พ.ศ. 2482 (ปี ค.ศ. 1939) ประเทศสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประเทศไทย จึงทำให้ นาวาเอกหลวงศุภชลาศัย ร.น. ดำรงตำแหน่งสองสถานภาพในคราวเดียวกัน กล่าวคือ ดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมกีฬาสยาม และ นายกสมาคมกีฬาไทย ด้วย เพราะว่า สมาคมกีฬาสยาม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมกีฬาไทย ตามการเปลี่ยนชื่อของประเทศ นั่นเอง
- พ.ศ. 2484-2490 (ค.ศ. 1941-1947) พระยาจินดารักษ์ เป็น นายกสมาคมกีฬาไทย
- พ.ศ. 2490-2498 (ค.ศ. 1947-1955) พันเอกหลวงรณสิทธิ์ เป็น นายกสมาคมกีฬาไทย
- พ.ศ. 2497-2498 (ค.ศ. 1954-1955) จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็น ผู้อุปถัมภ์พิเศษ
- พ.ศ. 2498-2500 (ค.ศ. 1955-1957) จอมพลเรือหลวงยุทธศาสตร์โกศล ร.น. เป็น นายกสมาคมกีฬาไทย
- พ.ศ. 2500-2503 (ค.ศ. 1957-1960) พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็น นายกสมาคมกีฬาไทย
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) พลเอกประภาส จารุเสถียร ได้นำความกราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ขอให้ สมาคมกีฬาไทย อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
- วันที่ 18 เมษายน 2503 (18 April 1960) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ได้ทรงรับ สมาคมกีฬาไทย ไว้ใน พระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมกีฬาไทย จึงได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาแหลมทอง หรือ เซียพเกมส์ ครั้งที่ 1 ประเทศพม่า ได้นำนักกีฬาตะกร้อ (พม่า เรียกตะกร้อว่า ชินลง) มาเล่นหรือแสดงตามรูปแบบของพม่า ให้คนไทยได้ชมในลักษณะแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) ประเทศพม่า เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 2 ได้เชิญนักกีฬาตะกร้อไทยไปร่วมโชว์แสดง ซึ่งประเทศไทย ได้ส่งทีมตะกร้อลอดห่วง ไปทำการโชว์แสดง และได้รับการชื่นชอบจากชาวพม่าเป็นอย่างมาก
- พ.ศ. 2504-2511 (ปี ค.ศ. 1961-1968) พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็น นายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปฐมเหตุแห่งการบรรจุเข้าสู่กีฬาระดับชาติ

กำเนิดกีฬาเซปักตะกร้อ
ระหว่างเดือน มีนาคม-เมษายน 2508 (March-April 1965) สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานเทศกาล กีฬาไทย โดยจัดให้มีการแข่งขัน ว่าว, กระบี่-กระบอง และตะกร้อ ณ ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งครั้งนั้น สมาคมกีฬาตะกร้อ จากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ได้นำวิธีการเล่นตะกร้อของ มาเลเซีย คือ เซปัก รากา จาริง มาเผยแพร่ให้คนไทยรู้จัก ในเชิงเชื่อมสัมพันธไมตรี และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกติกาของตะกร้อไทยด้วย
สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดให้มีการสาธิตกีฬาตะกร้อของทั้งสองประเทศ ระหว่างไทย กับ มาเลเซีย โดยผลัดกันเล่นตามกติกาของ มาเลเซีย 1 วัน, เล่นแบบกติกา ของไทย 1 วัน
ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย
กติกาของไทยสมัยก่อน เรียกว่า ตะกร้อข้ามตาข่าย สาระสำคัญของกติกาพอสังเขป ดังนี้
1. สนามแข่งขันและตาข่ายคล้ายกันกับ กีฬาแบดมินตัน (ความยาวสนามสั้นกว่า)
2. จำนวนผู้เล่นและคะแนนการแข่งขัน
2.1 การเล่น 3 คน แต่ละเซท จบเกมที่ 21 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.2 การเล่น 2 คน (คู่) แต่ละเซท จบเกมที่ 15 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.3 การเล่น 1 คน (เดี่ยว) แต่ละเซท จบเกมที่ 11 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
3. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม สามารถเล่นได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (2 จังหวะ)
4. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม ช่วยกันไม่ได้ หากผู้ใดถูกลูกตะกร้อจังหวะแรก ผู้นั้นต้องเล่นลูกให้ข้ามตาข่ายต่อไป
5. การเสิร์ฟ แต่ละคนต้องโยนและเตะลูกด้วยตนเองตามลำดับกับมือ ซึ่งเรียกว่ามือ 1, มือ 2 และมือ 3 มีลูกสั้น-ลูกยาว
2. จำนวนผู้เล่นและคะแนนการแข่งขัน
2.1 การเล่น 3 คน แต่ละเซท จบเกมที่ 21 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.2 การเล่น 2 คน (คู่) แต่ละเซท จบเกมที่ 15 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.3 การเล่น 1 คน (เดี่ยว) แต่ละเซท จบเกมที่ 11 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
3. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม สามารถเล่นได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (2 จังหวะ)
4. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม ช่วยกันไม่ได้ หากผู้ใดถูกลูกตะกร้อจังหวะแรก ผู้นั้นต้องเล่นลูกให้ข้ามตาข่ายต่อไป
5. การเสิร์ฟ แต่ละคนต้องโยนและเตะลูกด้วยตนเองตามลำดับกับมือ ซึ่งเรียกว่ามือ 1, มือ 2 และมือ 3 มีลูกสั้น-ลูกยาว
กติกาของมาเลเซีย
เล่นแบบ ข้ามตาข่าย เช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า เซปัก รากา จาริง ดังที่กล่าวมาแล้วว่า ดัดแปลงการเล่นมาจาก กีฬาวอลเลย์บอล โดยมีนักกีฬาฝ่ายละ 3 คน แต่ละคนสามารถเล่นลูกตะกร้อได้คนละ ไม่เกิน 3 ครั้ง/จังหวะ และสามารถช่วยกันได้ ต้องให้ลูกตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่งเมื่อก่อน เซปัก รากา จาริง แต่ละเซทจบเกมที่ 15 คะแนน แข่งขัน 2 ใน 3 เซท เช่นเดียวกันการสาธิตกีฬาตะกร้อระหว่างไทย กับ มาเลเซีย
วันแรก เล่นกติกาของไทย ปรากฏว่าไทยชนะด้วย 21 ต่อ 0 คะแนน นักกีฬาไทยประกอบด้วย 1. จ.ส.ต.เจริญ ศรีจามร 2. ร.อ.จำเนียร แสงสม 3. นายชาญ ธรรมวงษ์ (ซึ่งทั้ง 3 คนได้เสียชีวิตแล้ว)
วันที่สอง เล่นกติกาของมาเลเซีย ปรากฏว่ามาเลเซีย ชนะด้วย 15 ต่อ 1 คะแนน นักกีฬาไทยประกอบด้วย 1. ส.อ.สวัลย์ วงศ์พิพัฒน์ 2. นายประเสริฐ นิ่มงามศรี 3. นายสำเริง หวังวิชา (ซึ่งทั้ง 3 คนได้เสียชีวิตแล้ว)
วันที่สอง เล่นกติกาของมาเลเซีย ปรากฏว่ามาเลเซีย ชนะด้วย 15 ต่อ 1 คะแนน นักกีฬาไทยประกอบด้วย 1. ส.อ.สวัลย์ วงศ์พิพัฒน์ 2. นายประเสริฐ นิ่มงามศรี 3. นายสำเริง หวังวิชา (ซึ่งทั้ง 3 คนได้เสียชีวิตแล้ว)

จากผลของการสาธิต แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างถนัดหรือมีความสามารถการเล่นในกติกาของตน จึงได้มีการประชุมพิจารณาร่วมกัน กำหนดกติกาการเล่นตะกร้อขึ้นใหม่ เพื่อนำเสนอเข้าแข่งขันใน กีฬาเซียพเกมส์ ต่อไป
ข้อตกลงสรุปได้ดังนี้
– วิธีการเล่นและรูปแบบสนามแข่งขัน ให้ถือเอารูปแบบของประเทศ มาเลเซีย
– อุปกรณ์การแข่งขัน (ลูกตะกร้อ-เน็ต) และขนาดความสูงของเน็ต ให้ถือเอารูปแบบของประเทศ “ไทย”
– วิธีการเล่นและรูปแบบสนามแข่งขัน ให้ถือเอารูปแบบของประเทศ มาเลเซีย
– อุปกรณ์การแข่งขัน (ลูกตะกร้อ-เน็ต) และขนาดความสูงของเน็ต ให้ถือเอารูปแบบของประเทศ “ไทย”
ที่มาของคำว่า เซปักตะกร้อ
– และได้ตั้งชื่อกีฬาตะกร้อนี้ว่า เซปัก-ตะกร้อ เป็นภาษาของ 2 ชาติรวมกัน กล่าวคือคำว่า เซปัก เป็นภาษามาเลเซีย แปลว่า เตะ คำว่า ตะกร้อ เป็นภาษาไทย หมายถึง ลูกบอล
- พ.ศ. 2508 (ค.ศ. 1695) ประเทศมาเลเซีย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 3 ได้บรรจุ กีฬาเซปักตะกร้อ เข้าแข่งขันระดับชาติเป็นครั้งแรก โดยมีการแข่งขันประเภททีมชุดเพียงประเภทเดียว (แข่งขัน 2 ใน 3 ทีม) ซึ่งมีทีมส่งเข้าร่วมการแข่งขัน 3 ชาติ ได้แก่ มาเลเซีย, ไทย และสิงคโปร์ การแข่งขันครั้งนั้น ทีมไทยกับทีมมาเลเซีย เป็นคู่ชิงชนะเลิศ ผลของการแข่งขันปรากฏว่า ทีมมาเลเซีย ได้ครองเหรียญทอง สามารถชนะทีมไทยทั้ง 3 ทีม
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 4 มีทีมส่งเข้าร่วมการแข่งขัน 4 ชาติ ได้แก่ ไทย, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และลาว การแข่งขันครั้งนั้น ทีมไทย กับทีมมาเลเซีย เป็นคู่ชิงชนะเลิศ ผลของการแข่งขันปรากฏว่า ทีมไทย ได้ครองเหรียญทอง สามารถชนะทีมมาเลเซีย ทั้ง 3 ทีม
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ประเทศพม่า เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่ 5 ไม่มีการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อ มีเพียงการโชว์แสดงการเล่นตะกร้อของแต่ละประเทศเท่านั้น ซึ่งประเทศไทย ได้นำทีมตะกร้อลอดห่วงไปแสดงโชว์
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) ประเทศไทย มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ชุดใหม่
- พ.ศ. 2512-2516 (ปี ค.ศ. 1969-1973) พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรม เป็นนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หลวงสัมฤทธิ์วิศวกรรม ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เพียงปีเดียวก็ลาออก เนื่องจากสุขภาพไม่ดี
- พ.ศ. 2518-2526 (ค.ศ. 1975-1983) พลโทผเชิญ นิมิบุตร เป็นนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

การก่อตั้งสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ในช่วงที่ พลโทผเชิญ นิมิบุตร ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่การพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อภายในประเทศไทยอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญได้แก่
ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เห็นว่าสมาคมกีฬาไทยฯ มีความรับผิดชอบ กีฬาไทย หลายประเภท ดูแลไม่ทั่วถึง ไม่สามารถพัฒนากีฬาเซปักตะกร้อ ให้ก้าวหน้า
ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติและอนุมัติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ท่านเป็นเลขาธิการสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยกลุ่มหนึ่ง ไปก่อตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคมขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหารกิจกรรมกีฬาตะกร้อโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า สมาคมตะกร้อ โดยทำการยื่นขอจดทะเบียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ในขณะที่กำลังดำเนินการจดทะเบียน ที่ประชุมได้มีมติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร รักษาการเป็นนายกสมาคมตะกร้อ โดยมีนายนพชัย วุฒิกมลชัย ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคมฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2526 สมาคมได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสมาคม ตามเลขที่อนุญาต ที่ ต.204/2526 เลขคำขอที่ 204/2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น
2. เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนกีฬาตะกร้อให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
3. จัดการแข่งขันภายในประเทศ และนอกประเทศ
4. เผยแพร่ให้เยาวชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และรัฐวิสาหกิจ ให้มีการแข่งขันมากขึ้น
5. จัดให้มีการควบคุมให้อยู่ในขอบข่าย และจัดให้มีการแข่งขันในระดับต่างๆ มากยิ่งขึ้น
6. ตั้งศูนย์อบรม เผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
2. เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนกีฬาตะกร้อให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
3. จัดการแข่งขันภายในประเทศ และนอกประเทศ
4. เผยแพร่ให้เยาวชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และรัฐวิสาหกิจ ให้มีการแข่งขันมากขึ้น
5. จัดให้มีการควบคุมให้อยู่ในขอบข่าย และจัดให้มีการแข่งขันในระดับต่างๆ มากยิ่งขึ้น
6. ตั้งศูนย์อบรม เผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
มีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ณ เลขที่ 179 ซอยเจริญพร ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2526 พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร และคณะกรรมการบริหาร (ชุดรักษาการ) และสโมสรสมาชิกในขณะนั้น ได้มีการประชุมใหญ่สามัญ โดยมีวาระที่สำคัญคือให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ เมื่อถึงวาระสำคัญ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ท่านได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ท่านภูมิใจในการที่ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมฯนี้ขึ้นมา แต่ขณะนี้ท่านได้ชรามากแล้ว จึงเห็นควรที่จะมอบหมายหรือเลือกตั้งบุคคลอื่นมาทำหน้าที่แทนท่าน และท่านได้เป็นผู้เสนอชื่อ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์ (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกสมาคมฯ ด้วยตัวท่านเอง ที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้านเห็นชอบตามเสนอ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์ จึงได้รับตำแหน่งนายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่บัดนั้น จนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2526 พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร และคณะกรรมการบริหาร (ชุดรักษาการ) และสโมสรสมาชิกในขณะนั้น ได้มีการประชุมใหญ่สามัญ โดยมีวาระที่สำคัญคือให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ เมื่อถึงวาระสำคัญ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ท่านได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ท่านภูมิใจในการที่ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมฯนี้ขึ้นมา แต่ขณะนี้ท่านได้ชรามากแล้ว จึงเห็นควรที่จะมอบหมายหรือเลือกตั้งบุคคลอื่นมาทำหน้าที่แทนท่าน และท่านได้เป็นผู้เสนอชื่อ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์ (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกสมาคมฯ ด้วยตัวท่านเอง ที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้านเห็นชอบตามเสนอ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์ จึงได้รับตำแหน่งนายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่บัดนั้น จนถึงปัจจุบัน

เกร็ดความรู้ตะกร้อ
- ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
- ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
- ตะกร้อที่ใช้เดิมใช่หวายถักเป็นลูกตะกร้อ ปัจจุบัน นิยมใช้ลูกตะกร้อพลาสติก
- ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
- โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนำเอาหวายมาสานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิกแพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลำดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทำจากสมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
- ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คำจำกัดความเอาไว้ว่า ตะกร้อ คือ ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สำหรับเตะ
- ท่าเตะตะกร้อมีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่นักเล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา (เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)
- เซปักตะกร้อ เป็นกีฬาพื้นเมืองของประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเล่นกีฬา เซปักตะกร้อค่อนข้างคล้าย ๆ กับกีฬาฟุตวอลเลย์ แต่ต่างกันตรงที่ใช้ลูกหวายในการเล่น และอนุญาตให้ผู้เล่นสัมผัสบอลโดยใช้ได้เพียงเท้า เข่า หน้าอก และหัว เท่านั้น โดยกีฬาเซปักตะกร้อนั้นได้รับความนิยมเล่นกันมากที่ประเทศไทย
- ชื่อที่เรียกกีฬาชนิดนี้ อาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่เช่น ในประเทศไทย เรียกว่า ตะกร้อ ประเทศลาว เรียกว่า Kataw ประเทศมาเลเซีย เรียกว่า Sepak Raga (รากา) ส่วนประเทศพม่ารู้จักกันในชื่อของ Chin Lone (ชินลง) ซึ่งเป็นการเล่นที่ไม่มีทีมฝ่ายตรงข้าม การเล่นจะเน้นให้ลูกบอลลอยอยู่กลางอากาศ ซึ่งมีกติกาที่หลากหลายและน่าสนใจ ส่วนในประเทศฟิลิปปินส์ จะรู้จักกีฬาเซปักตะกร้อในชื่อของ Sipa ซึ่งมีความหมายว่า การเตะ นั่นเอง

วิวัฒนาการการเล่นกีฬาตะกร้อ
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชำนาญและหลีกหนีความจำเจ ก็คงมีการเริ่มเล่นด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลำดับ จากนั้นก็ตกลงวางกติกาการเล่นโดยเอื้ออำนวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร จนกระทั่งมีการพัฒนาเอาจุดเด่นการละเล่นของทั้งสองประเทศ มาใช้ร่วมกันจนกลายเป็นกีฬา เซปักตะกร้อ ในยุคปัจจุบัน
ประเภทของกีฬาตะกร้อ
1. เซปักตะกร้อ การแข่งขันตะกร้อในระดับนานาชาติ เรียกเกมกีฬาชนิดนี้ว่าเซปักตะกร้อ โดยเป็นการแข่งขันของผู้เล่น 2 ทีม ทำการโต้ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายเพื่อให้ลงในแดนของคู่ต่อสู้
กติกา เซปักตะกร้อ สำหรับการรับชม โดยสังเขป
- ผู้เล่น ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มีผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสำรอง 3 คน
- เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
- เสิร์ฟลูกสัมผัสเน็ต ไม่ถือว่าฟาล์ว แต่จะเสียคะแนนถ้าลูกไม่ข้ามไปฝั่งตรงข้าม หรือข้ามและลูกออก
- หลังจากที่เสิร์ฟแล้ว ฝ่ายรับจะมีโอกาสเล่นบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งลูกกลับมาอีกฝั่ง และพยายามให้ลงสัมผัสกับพื้นที่สนามของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ โดยเกมจะแบ่งเป็นกรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่ ฝ่ายเสิร์ฟจะได้คะแนน
– เสิร์ฟลงสัมผัสกับพื้นสนามของฝ่ายรับ
– เสิร์ฟลูกโดนตาข่าย แต่ลูกพลิกไปลงสัมผัสกับพื้นสนามของฝ่ายรับ
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับสัมผัสบอลแล้วบอลตกในฝั่งของฝ่ายรับเอง หรือ สัมผัสแล้วทำลูกสัมผัสพื้นในส่วนนอกสนาม
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับเล่นบอลเกิน 3 ครั้ง
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับเล่นบอลไม่เกิน 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถส่งลูกไปยังสนามของฝ่ายตรงข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็น ติดตาข่าย ทำลูกหล่นสัมผัสพื้นในแดนตนเอง หรือส่งข้ามไปแล้วลูกสัมผัสพื้นนอกพื้นที่การเล่น
– เสิร์ฟลูกโดนตาข่าย แต่ลูกพลิกไปลงสัมผัสกับพื้นสนามของฝ่ายรับ
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับสัมผัสบอลแล้วบอลตกในฝั่งของฝ่ายรับเอง หรือ สัมผัสแล้วทำลูกสัมผัสพื้นในส่วนนอกสนาม
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับเล่นบอลเกิน 3 ครั้ง
– เสิร์ฟลูกแล้ว ฝ่ายรับเล่นบอลไม่เกิน 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถส่งลูกไปยังสนามของฝ่ายตรงข้ามได้ ไม่ว่าจะเป็น ติดตาข่าย ทำลูกหล่นสัมผัสพื้นในแดนตนเอง หรือส่งข้ามไปแล้วลูกสัมผัสพื้นนอกพื้นที่การเล่น

กรณีที่ ฝ่ายรับจะได้คะแนน
– ฝ่ายเสิร์ฟ เสิร์ฟติดตาข่าย และลูกไม่ข้ามมาลงพื้นที่สนามของฝ่ายรับ หรือเสิร์ฟออก
– ฝ่ายรับสามารถเตะบอลลงสัมผัสพื้นสนามของฝ่ายเสิร์ฟได้
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกตกสัมผัสพื้นในแดนของฝ่ายเสิร์ฟ
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกสัมผัสพื้นที่นอกสนาม
– ฝ่ายเสิร์ฟสัมผัสถูกตาข่ายระหว่างการเล่น
– ฝ่ายรับสามารถเตะบอลลงสัมผัสพื้นสนามของฝ่ายเสิร์ฟได้
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกตกสัมผัสพื้นในแดนของฝ่ายเสิร์ฟ
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกสัมผัสพื้นที่นอกสนาม
– ฝ่ายเสิร์ฟสัมผัสถูกตาข่ายระหว่างการเล่น
- หากฝ่ายรับเล่นบอลส่งไปฝั่งตรงข้ามและฝ่ายเสิร์ฟรับได้ ให้ใช้กฎเดียวกันคือ ฝ่ายเสิร์ฟมีโอกาสเล่นบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไป เกมจะดำเนินไปจนกว่าจะมีฝั่งใดได้คะแนน
- อนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่ได้เล่นบอล กระโดดบล็อกการเล่นที่ไม่ใช่ลูกเสิร์ฟได้
- ฝ่ายที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้สิทธิ์ในการเสิร์ฟ
- การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีมใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้ 13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทำการแข่งขันเซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า 2 คะแนน ก็ให้ทำการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หรือ 8:7 ถือเป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สำหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที

ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย
2. ตะกร้อที่เล่นเป็นทีมโดยไม่มีฝ่ายตรงข้าม เช่น ตะกร้อวง | ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้รับหนึ่ง ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า “เตะตะกร้อ” ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าวกันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชำนาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น

3. การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้ำหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่นโดยไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่างมาก

4. ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะสามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วงจำนวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ ถือเป็นการฝึกฝนได้ดี
ประวัติกีฬาตะกร้อ ประวัติตะกร้อไทย

มารยาทในการเล่นตะกร้อที่ดี
การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่นควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
- การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจเมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการเล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
- การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสมกับการเป็นนักกีฬาที่ดี
- ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
- ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
- ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคำตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคำตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
- ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
- ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือแสดงความยินดี
- หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคำขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้ามกล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
- ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กำหนดไว้
- ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทำให้ผู้เล่นอื่นเกิดความรำคาญ
- ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
- มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
- หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
- เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา
มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี
- ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
- ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
- นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
- ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
- ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
- อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
- ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
- ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
- ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
- ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
- สนับสนุนให้กำลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น